วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

เศรษฐกิจพอเพียงกับการประกอบอาชีพ

เศรษฐกิจพอเพียงกับการประกอบอาชีพ

            สรุปเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า  25  ปี  ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ  พ.ศ. 2540  และภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น  และสามารถดำรงอยู่
ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

            เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่  และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  จนถึงระดับรัฐ  ทั้งในการพัฒนาบริหารประเทศให้ดำเนินไป ในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวหน้าต่อยุคโลกาภิวัตน์ ทางสายกลาง  หมายถึง เส้นทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์และสังคมที่ถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นจริงตามกฎธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอยู่  ทั้งที่ตัวมนุษย์  และรอบๆ  ตัวมนุษย์

หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  พิจารณาได้ดังนี้

            คุณลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ  โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง  และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจ

            ธุรกิจพอเพียง หมายถึง  การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความมั่นคงและยั่งยืนมากกว่าการแสวงหาผลประโยชน์ในระยะสั้น  ดังนั้น  จึงต้องมีความรอบรู้ในธุรกิจที่ตนดำเนินการอยู่  และศึกษาข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้สามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  มีความรอบคอบในการตัดสินใจในแต่ละครั้ง  เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดต่างๆ  ไม่ให้เกิดขึ้น  และต้องมีคุณธรรมคือมีความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบอาชีพ  ไม่ผลิตหรือขายสินค้าที่ก่อให้เกิดโทษหรือสร้างปัญหาให้กับคนในสังคมและสิ่งแวดล้อม  มีความขยันหมั่นเพียร  อดทนในการพัฒนาธุรกิจไม่ให้มีความบกพร่อง  และก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต  การปรับปรุงสินค้าและคุณภาพให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ  และในขณะเดียวกันต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม  และระบบนิเวศวิทยาทุกขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ  โดยการรักษาสมดุลในการแบ่งปันผลประโยชน์ของธุรกิจในระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ  อย่างสมเหตุสมผล  ตั้งแต่ผู้บริโภค  พนักงาน  บริษัทคู่ค้า  ผู้ถือหุ้น  และสังคมวงกว้างรวมถึงสิ่งแวดล้อม
การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง
            การดำเนินชีวิตในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการประกอบอาชีพตามทรัพยากรที่มีอยู่โดยอาศัยความรู้  ความสามารถ  เพื่อให้เกิด   ความพอเพียงในลักษณะพออยู่พอกิน  ก่อให้เกิดความสุขสบายภายในครอบครัว  หากเหลือจากการดำรงชีพสามารถนำไปขาย  เพื่อเป็นรายได้และเก็บออมเป็นเงินทุนต่อไป  การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้ดังนี้
       ๑. ทำไร่ทำนาสวนผสมผสาน  เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเศรษฐกิจพอเพียง
       ๒. ปลูกผักสวนครัว  เพื่อลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว
       ๓. ใช้ปุ๋ยคอก  และทำปุ๋ยหมักใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี  เพื่อลดรายจ่ายและช่วยปรับปรุงบำรุงดิน
       ๔. เพาะปลูกเห็ดฟางจากฟางข้าและเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
       ๕. ปลูกผลไม้ในสวนหลังบ้านและปลูกต้นไม้ใช้สอย
       ๖. ปลูกพืชสมุนไพรช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
       ๗. เลี้ยงปลาในร่องสวน  ในนาข้าวและสระน้ำ  เพื่อเป็นอาหารและรายได้เสริม
       ๘. เลี้ยงไก่พื้นเมืองและไก่ไข่  เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริมโดยใช้ข้าวเปลือกรำปลายข้าวจากการทำนา  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่  พืชผักจากการปลูกในสวน
       ๙. ทำก๊าชชีวภาพจากมูลสุกร  หรือวัว  เพื่อใช้เป็นพลังงานในครัวเรือน
     ๑๐. ทำสารสกัดชีวภาพจากเศษพืชผักผลไม้  และพืชสมุนไพรที่ใช้ในไร่นา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น