วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

กลอน

“คำว่าพอดี อยู่ที่เพียงพอ

ปรัชญาของ “พ่อ” เศรษฐกิจพอเพียง

สังคมสุขล้ำ วัฒนธรรมงามเพี้ยง

อยู่อย่างไม่เสี่ยง ชาติไทยเจริญ”

“เศรษฐกิจดี สังคมมีวัฒนธรรม

ขยันหา ขยันทำ รักพ่อต้อง “พอเพียง”

สิ่งสำคัญนั่นหรือคือประหยัด
เศรษฐกิจไม่ติดขัดขจัดเสี้ยนหนาม
เน้นรายรับรายจ่ายให้พองาม
ทั่วเขตคามหากทำได้ไม่ระทม

ความพอเพียงเพียงพอไม่ก่อหนี้
ชีวิตนี้จะมีสุขทุกข์ไม่ข่ม
ความพอดีดีหนักหนาน่านิยม
ร่วมชื่นชมตามรอยบาทชาติเจริญ

*อยู่พอตน คนไทย ที่ใช้อยู่
*ลองตรองดู ซิใคร ได้พร่ำสอน
*พ่อหลวงไทย ทรงตรัสไว้ ดั่งให้พร
*เป็นคำสอน กล่อมเกลาใจ ได้ผลดี

*อยู่พอเพียง เลี้ยงตน ฝึกฝนเถิด
ให้บังเกิด ความเคยชิน ทุกถิ่นที่
ทำประจำ เรื่อยไป จะได้ดี
ดังได้มี ตัวอย่าง ที่สร้างนาม

            เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีวิต             ตามแนวคิดนำร่องของพ่อหลวง
            ทรงเป็นดั่งร่มไทรไทยทั้งปวง          พระทรงห่วงชาวประชาข้าบาทไทย
            ทรงชี้นำแนวทางสร้างอาชีพ            ดุจประทีปส่องทางสว่างไสว
            ตามวิถีแปรเปลี่ยนเวียนหมุนไป         ของโลกในปัจจุบันที่ผันแปร
            รู้จักเดินสายกลางทางชีวิต               ไม่ยึดติดจิตใจให้แน่วแน่
            พึ่งตนเองก่อนจะให้ใครดูแล             จึงจักแก้ปัญหาอย่าท้อใจ
            ความพอเพียงเพียงพอที่พ่อสอน       ล้วนสะท้อนภูมิปัญญาล้ำค่าได้
            พลิกชีวิตที่ลำบากยากเข็ญใจ             หากเราใช้ความพอเพียงเพื่อเลี้ยงตน
            ทรัพยากรมากมายมีหลายหลาก         ที่เกิดจากธรรมชาติไม่ขัดสน
            รู้จักกินรู้จักใช้ไม่อับจน                       ประมาณตนไว้เถิดเกิดผลดี
            ไม่ดิ้นรนขวนขวายให้เป็นทุกข์           แค่เราสุขแบบพอเพียงเยี่ยงวันนี้
            ตั้งมั่นในคุณธรรมนำชีวี                      สมกับที่องค์พ่อหลวงทรงห่วงใย.



การประยุกต์แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในแผนธุรกิจ

การประยุกต์แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในแผนธุรกิจ
                        แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต และผู้บริโภคดำรงชีวิตภายใต้ขอบเขตของทรัพยากรที่มีอยู่  กล่าวคือข้อจำกัดของรายได้เพื่อลดความพึ่งพา  หลีกเลี่ยงการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมผลผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะการเสี่ยงจากการที่ขัดสน  การใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะของตนเองและครอบครัว    
                     
                      ส่วนที่เป็นปรัชญาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการธุรกิจคือ
ความพอประมาณ หมายถึง ความเพียงพอแก่ฐานะของตนเองและ ครอบครัว  ไม่สร้างความเดือดร้อนทั้งตนเอง และผู้อื่นกล่าวคือทำการผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณส่วนที่เหลือนำไปขายเพื่อมาทำทุนหมุนเวียน  
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุว่าทำไมจะต้องดำเนินการเช่นนั้น  โดยจะต้องคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่ความเป็นไปได้ด้านต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ขยัน  อดทน  ประหยัด  ตลอดจนมีการใช้องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ  ที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจขนาดย่อมมาวางแผน  ควบคุม  การตัดสินใจอย่างรอบครอบและตระหนักถึงเรื่องของจริยธรรมทางธุรกิจ  กล่าวคือดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ  รับฟังข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนจากลูกค้า ผลิตและจำหน่ายแต่สินค้าที่มีคุณภาพ  ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
                     ตัวอย่างจากการนำกล้วยที่เป็นผลผลิตที่เหลือจากสวนมาจัดการแบ่งไว้รับประทานเองให้พอเพียงกับสมาชิกในครอบครัว  ที่เหลือแบ่งปันให้ญาติเพื่อนบ้าน ที่ไม่มีการปลูกกล้วย  เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน  ส่วนที่เหลือนำไปขายเพื่อนำเงินมาจุนเจือครอบครัวแต่เนื่องจากผลผลิตล้นตลาดมีมากจนกระทั่งจะต้องลดราคากันทั้งนี้เป็นกลไกอย่างง่ายทางเศรษฐศาสตร์  กล่าวคือเมื่อปริมาณสินค้ามีมากราคาจะลดลง  แต่ถ้านำผลผลิตมาทำเป็นกล้วยตากกล้วยกวน จะเป็นการสร้างมูลค่าปรับปรุงดัดแปลง  สินค้าให้มีความแตกต่าง  จากคู่แข่ง  เพื่อวางขาย จะต้องพิจารณาว่าสินค้านั้นมีความต้องการมากแค่ไหน จะขายให้  ลูกค้ากลุ่มไหน หาช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสม  เปรียบเทียบราคากับคู่แข่ง การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐบาล ลูกค้ามีแนวโน้มจะมีความต้องการผลิตภัณฑ์จากล้วยในรูปแบบใด  เป็นการใช้ความรู้เกี่ยวกับวิชาการด้านคหกรรมศาสตร์และสุดท้ายผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการดำเนินการแล้วจะเกิดผลเสียกับตัวเองและผู้อื่นหรือไม่ เช่นผลเสียกับสิ่งแวดล้อม  ชุมชนและจริยธรรมทางธุรกิจเป็นการใช้คุณธรรมในการดำเนินการตามเงื่อนไขของการตัดสินใจเพื่อดำเนินธุรกิจให้อยู่ในระดับพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    
            ความพอเพียงที่ว่านี้ไม่ใช่ผลิตน้อย ๆ  เพียงแต่ผลิตให้พอขาย ใช้ความรู้ มีเหตุผลในการวางแผน  ควบคุม  การจัดการให้เกิดประโยชน์  มีกลไกการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในอนาคต  เหมือนกับทฤษฎีแนวคิดเรื่อง  Just  in  time    และ  EOQ บวกกับจริยธรรมทางธุรกิจ นั่นเอง

เศรษฐกิจพอเพียงกับการประกอบอาชีพ

เศรษฐกิจพอเพียงกับการประกอบอาชีพ

            สรุปเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า  25  ปี  ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ  พ.ศ. 2540  และภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น  และสามารถดำรงอยู่
ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

            เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่  และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  จนถึงระดับรัฐ  ทั้งในการพัฒนาบริหารประเทศให้ดำเนินไป ในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวหน้าต่อยุคโลกาภิวัตน์ ทางสายกลาง  หมายถึง เส้นทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์และสังคมที่ถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นจริงตามกฎธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอยู่  ทั้งที่ตัวมนุษย์  และรอบๆ  ตัวมนุษย์

หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  พิจารณาได้ดังนี้

            คุณลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ  โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง  และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจ

            ธุรกิจพอเพียง หมายถึง  การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความมั่นคงและยั่งยืนมากกว่าการแสวงหาผลประโยชน์ในระยะสั้น  ดังนั้น  จึงต้องมีความรอบรู้ในธุรกิจที่ตนดำเนินการอยู่  และศึกษาข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้สามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  มีความรอบคอบในการตัดสินใจในแต่ละครั้ง  เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดต่างๆ  ไม่ให้เกิดขึ้น  และต้องมีคุณธรรมคือมีความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบอาชีพ  ไม่ผลิตหรือขายสินค้าที่ก่อให้เกิดโทษหรือสร้างปัญหาให้กับคนในสังคมและสิ่งแวดล้อม  มีความขยันหมั่นเพียร  อดทนในการพัฒนาธุรกิจไม่ให้มีความบกพร่อง  และก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต  การปรับปรุงสินค้าและคุณภาพให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ  และในขณะเดียวกันต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม  และระบบนิเวศวิทยาทุกขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ  โดยการรักษาสมดุลในการแบ่งปันผลประโยชน์ของธุรกิจในระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ  อย่างสมเหตุสมผล  ตั้งแต่ผู้บริโภค  พนักงาน  บริษัทคู่ค้า  ผู้ถือหุ้น  และสังคมวงกว้างรวมถึงสิ่งแวดล้อม
การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง
            การดำเนินชีวิตในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการประกอบอาชีพตามทรัพยากรที่มีอยู่โดยอาศัยความรู้  ความสามารถ  เพื่อให้เกิด   ความพอเพียงในลักษณะพออยู่พอกิน  ก่อให้เกิดความสุขสบายภายในครอบครัว  หากเหลือจากการดำรงชีพสามารถนำไปขาย  เพื่อเป็นรายได้และเก็บออมเป็นเงินทุนต่อไป  การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้ดังนี้
       ๑. ทำไร่ทำนาสวนผสมผสาน  เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเศรษฐกิจพอเพียง
       ๒. ปลูกผักสวนครัว  เพื่อลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว
       ๓. ใช้ปุ๋ยคอก  และทำปุ๋ยหมักใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี  เพื่อลดรายจ่ายและช่วยปรับปรุงบำรุงดิน
       ๔. เพาะปลูกเห็ดฟางจากฟางข้าและเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
       ๕. ปลูกผลไม้ในสวนหลังบ้านและปลูกต้นไม้ใช้สอย
       ๖. ปลูกพืชสมุนไพรช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
       ๗. เลี้ยงปลาในร่องสวน  ในนาข้าวและสระน้ำ  เพื่อเป็นอาหารและรายได้เสริม
       ๘. เลี้ยงไก่พื้นเมืองและไก่ไข่  เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริมโดยใช้ข้าวเปลือกรำปลายข้าวจากการทำนา  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่  พืชผักจากการปลูกในสวน
       ๙. ทำก๊าชชีวภาพจากมูลสุกร  หรือวัว  เพื่อใช้เป็นพลังงานในครัวเรือน
     ๑๐. ทำสารสกัดชีวภาพจากเศษพืชผักผลไม้  และพืชสมุนไพรที่ใช้ในไร่นา


หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง


หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
     การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและ
ความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจน
ใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

          ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่  ดังนี้
      •  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น
โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการ
มองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ
ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
      •  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ
โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
      •  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

          •  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียน
              ตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
          •  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไป
              อย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
              จากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
          •  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง
              ด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
              ในอนาคตทั้งใกล้และไกล

     เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้
และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน
และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม
มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
     แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ
การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
ความรู้และเทคโนโลยี



การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 

1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า 
. . . ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง. . . 

2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า . . ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจาก การประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพ ของตนเป็นหลักสำคัญ. . 

3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า 
. . . ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น. . . 

4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า 
. . การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่ จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง. . . 

5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาทว่า . . . พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น. . . 

ทรงย้ำเน้นว่าคำสำคัญที่สุดคือ คำว่า "พอ" 
ต้องสร้างความพอที่สมเหตุสมผลให้กับตัวเองให้ได้และเราก็จะพบกับความสุข